ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับผลสัมฤทธ์ทางวิชาการของผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 1.1 จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามาตรฐานการศึกษาของชาติ กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 1.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบคือต้องคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์กล้าตัดสินใจ มีความกล้าแสดงออกและนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน กลยุทธ์ที่ 1.4 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการแสวงหาความรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศที่หลากหลาย สามารถพัฒนาระบบความรู้จากข้อมูลไปสู่สารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ บนพื้นฐานความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 2.1 ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตศาธารณะ กลยุทธ์ที่ 2.2 ปลูกฝังผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลยุทธ์ที่ 2.3 ส่งเสริมความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 2.4 ปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ลดพฤติกรรมเสี่ยง หลีกเลี่ยงยาเสพติดและความรุนแรง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 กระบวนการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 4.1 ส่งเสริมผู้เรียนมีทักษะเพื่อมุ่งสุ่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ศิลปะ นาฎศิลป์ และเทคโนโลยี
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ กลยุทธ์ที่ 5.1 พัฒนาครูด้านผลิตและจัดหาสื่อ นวัตกรรมและจัดหาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การใช้ภาษาต่างประเทศมาพัฒนาตนเอง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการวัดผลทางการศึกษามีความรักและศรัทธาในวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 6.1 พัฒนาสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ อย่างหลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ 7.1 มีระบบโครงสร้างการบริหารจัดการที่มีที่มีความชัดเจน เหมาะสม เป็นรูปธรรม มีการติดตามโดยใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 7.2 จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับความต้องการผู้เรียน
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร ในระดับดีขึ้นไป ตัวบ่งชี้ที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณในระดับดีขึ้นไป ตัวบ่งชี้ที่ 3 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาในระดับดีขึ้นไป ตัวบ่งชี้ที่ 4 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมผ่านกิจกรรมโครงงาน ตัวบ่งชี้ที่ 5 ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสืบค้นข้อมูลในการเรียนได้ ตัวบ่งชี้ที่ 6 ร้อยละของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับดีขึ้นไป ตัวบ่งชี้ที่ 7 ร้อยละของผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) มีค่า T-score ³ ร้อยละ 50 ตัวบ่งชี้ที่ 8 ร้อยละของผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 9 ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน มีค่านิยมที่ดี และมีคุณลักษณะ 5+1 (มีวินัย อดทน รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญู สำนึกรักท้องถิ่น) ตัวบ่งชี้ที่ 10 ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ที่ 11 ร้อยละของผู้เรียนร่วมกิจกรรมประเพณีท้องถิ่นภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ตัวบ่งชี้ที่ 12 ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ตัวบ่งชี้ที่ 13 ร้อยละของผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ตัวบ่งชี้ที่ 14 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดไว้ชัดเจน โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 15 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ตัวบ่งชี้ที่ 16 การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตัวบ่งชี้ที่ 17 โรงเรียนส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 18 โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 19 โรงเรียนจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตได้ ตัวบ่งชี้ที่ 20 ร้อยละของครูที่จัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 21 ร้อยละของครูที่มีการพัฒนาใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพและหลากหลาย
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ตัวบ่งชี้ที่ 22 ร้อยละของครูที่มีการบริหารจัดการเชิงบวกเพื่อให้นักเรียนรักการเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 23 ร้อยละของครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง
3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 24 ร้อยละของครูที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อนำผลมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
|